หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บุรีรัมย์ในอดีต

คลองละลมเมื่ออดีต

คลองละลมในอดีต


สะพานยาวหรือสะพานละลม


ขนวนแห่งานฉลอง 25พุทธศตวรรษของบุรีรัมย์

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Reddin’s 3-D Model (ทฤษฎี 3 มิติของเรดดิน)

Reddin’s  3-D Model (ทฤษฎี  3 มิติของเรดดิน)
ทฤษฎี  3 มิติของเรดดิน  William J. Reddin   เป็นทฤษฎีที่ศึกษาเกี่ยวกับภาวะผู้นำและแบบของผู้นำทางการบริหาร  ทฤษฎีนี้เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนล้วนแต่มีลักษณะความเป็นผู้นำและแบบของผู้นำอยู่ด้วยกันทั้งนั้น จะต่างกันก็เพียงแต่ว่าแบบของผู้นำแต่ละคนไม่เหมือนกันและลักษณะความเป็นผู้นำมากน้อยต่างกัน  บางคนอาจยึดมั่นแบบผู้นำแบบใดแบบหนึ่งตลอดไป  แต่บางคนอาจจะเปลี่ยนแบบผู้นำไปตามเวลา  สถานการณ์  สิ่งแวดล้อมและตำแหน่งหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ 
                วิลเลี่ยม เจ. เรดดิน  (William J. Reddin)   พัฒนารูปแบบตามทฤษฎีสามมิติ   จากการวิจัยที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอ    ( Ohio University) โดยมีสมมติฐานคล้ายกับแบบพฤติกรรมผู้นำสถาณการณ์ของ  Fiedier  บนพื้นฐานแนวคิดการศึกษาภาวะผู้นำของเรดดิน  แบ่งออกเป็น  3  มิติ  คือ
1.  มิติมุ่งงานหรือกิจสัมพันธ์  (task Orientation)  เป็นพฤติกรรมที่ผู้ร่วมงานหรือผู้ตามปฏิบัติอย่างได้ผล โดยผู้นำเริ่มจัดการหรืออำนวยการ
2.  มิติมุ่งสัมพันธภาพหรือมิตรสัมพันธ์ (Relation Orientation)  เป็นพฤติกรรมของผู้นำที่แสดงให้เห็นความเห็นอกเห็นใจ  ไว้วางใจ  และให้กำลังใจในการปฏิบัติงาน
3.  มิติมุ่งประสิทธิผล (Effectivemess Orientation)
                ทฤษฎีของเรดดินได้แบ่งภาวะผู้นำทางการบริหารออกเป็น  ลักษณะ พื้นฐาน คือ
1.  แบบผู้ผสมผสานหรือผู้นำแบบประสาน (Intergrated)  ผู้นำประเภทนี้จะให้ความสำคัญทั้งงานและคนมากเป็นพฤติกรรมที่มุ่งอยู่ที่คนและงานมาก
2.  แบบมิตรสัมพันธ์หรือผู้นำแบบสัมพันธ์  (Related)  ผู้นำประเภทนี้จะมีพฤติกรรมทางด้านการบริหารที่ให้ความสำคัญกับคนมากแต่ให้ความสำคัญกับงานน้อย  พฤติกรรมของเขาจะมุ่งอยู่ที่การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
3.  แบบผู้แยกตัวหรือผู้นำแบบปลีกตัว (Separated)  ผู้นำประเภทนี้ไม่เอาทั้งคนและงาน  เขาจะปลีกตัวไปจากทั้งคนและงาน
4.  แบบผู้เสียสละหรือผู้นำแบบอุทิศตน  (Dedicated)  ผู้นำแบบนี้จะมีพฤติกรรมทางด้านการบริหารที่ให้ความสำคัญกับงานมากแต่ให้ความสำคัญกับคนน้อย  
3 - D  Model  ของเรดดิน (Reddin)  นี้ถือว่าผู้นำนั้นจะมีรูปแบบพื้นฐาน  4  แบบ   และมีรูปแบบความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพสูง  แบบ  กับรูปแบบความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพต่ำ  4 แบบ  แต่บางคนอาจจะเปลี่ยนแบบผู้นำไปตามเวลา  สถานการณ์  สิ่งแวดล้อมและตำแหน่งหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ 
แบบผู้นำที่มีประสิทธิภาพต่ำ
1.  แบบผู้หนีงาน (Deserter)  เป็นผู้นำที่ให้ความสำคัญกับงานและคนน้อย  จะไม่มีความสนใจในงาน ไม่มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน  ขัดขวางผู้อื่น ไม่ยอมรับความผิดพลาด ไม่มีมนุษยสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก
2.  แบบนักบุญ (Missionary)  เป็นผู้นำที่ให้ความสำคัญกับคนมาก  แต่ให้ความสำคัญกับงานน้อย มุ่งแต่เพียงสัมพันธภาพอันดี มีความเกรงใจต่อทุกคน  ไม่กล้าว่ากล่าวตักเตือนผู้ใด ไม่โต้แย้งหรือคัดค้าน พร้อมที่จะเปลี่ยนใจได้เสมอ
3.  แบบผู้เผด็จการ  (Autocrat)  เป็นผู้ที่ให้ความสำคัญกับงานมากแต่ให้ความสำคัญกับคนน้อย  ใช้อำนาจในการบริหาร มุ่งงานอย่างเดี่ยวไม่คำนึงถึงอย่างอื่นไม่วางใจผู้อื่น  ขาดสัมพันธภาพกับผู้ร่วมงานชอบใช้วิธีการสั่งสอนให้ผู้อื่นทำงาน
4.  แบบผู้ประนีประนอม  (Compromiser)  เป็นผู้นำที่ให้ความสำคัญกับงานและคนมาก  โดยมีลักษณะของผู้นำที่ยอมรับว่าความสำเร็จของงานและสัมพันธภาพกับผู้ร่วมงานเป็นสิ่งสำคัญ  พยายามที่จะให้ได้ทั้งสองอย่าง แต่เป็นคนที่ถูกมองว่าเป็นนักตัดสินใจไม่ดี  ไม่กล้าตัดสินใจ  ไม่มีความเชื่อถือในตนเอง  และใช้วิธีประนีประนอมอยู่ตลอดเวลา
แบบของผู้นำที่มีประสิทธิภาพสูง
1.  ผู้คุมกฎเกณฑ์หรือผู้ยึดระเบียบ (Bureaucrat) เป็นผู้นำที่สนใจทั้งงานและคนน้อย ให้ความสำคัญกับกฎระเบียบวิธีปฏิบัติที่วางไว้อย่างเคร่งครัดและเข้มงวด  มักไม่มีความริเริ่มไม่สนใจพัฒนาผู้ร่วมงาน  ผู้นำแบบนี้พบได้ในระบบราชการทั่วไป
2.  ผู้สอนแนะหรือผู้นำแบบนักพัฒนา (Developer)  เป็นผู้นำที่ให้ความสำคัญกับงานน้อย  มีลักษณะพฤตกรรมที่เหมาะสมทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี  มีความสามารถในการจูงใจผู้อื่นได้ดี  สนใจพัฒนาตัวบุคคล รู้จักมอบหมายหน้าที่การงานให้ผู้ร่วมงานอย่างเหมาะสม ไม่ใช้วิธีรุนแรง  มีความสุภาพ นิ่มนวล  ผู้ร่วมงานมักเลื่อมใสและไว้วางใจ
3.  ผู้บุกงานหรือผู้นำแบบเผด็จการอย่างมีศิลปะ (Benevolent  Autocrat)  เป็นผู้นำที่ให้ความสำคัญกับงานมากกับคนน้อย มีลักษณะของผู้นำที่มรความเชื่อมั่นในตนเอง  จิตใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงมุ่งผลงานเป็นหลัก  มีศิลปะในการปฏิบัติงาน มีทักษะและประสบการณ์ดี สามารถสั่งการโดยผู้ร่วมงานพอใจที่จะทำงานให้  เป็นแบบที่เหมาะสมสำหรับวงการอุตสาหกรรม
4.  ผู้นำทีมหรือแบบนักบริหาร (Executive)  เป็นผู้นำที่ให้ความสำคัญกับงานและคนมาก  มีลักษณะของผู้นำที่มีความกระตือรือร้น  รู้จักใช้ความสามารถของผู้ร่วมงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการทำงานเป็นทีม  มีการวางมาตรฐานในการทำงาน  งานมีประสิทธิผลเอาใจใส่  รับผิดชอบ  มีความคิดริเริ่ม  เปิดเผย  ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงานด้วยใจที่เป็นธรรม  ให้กำลังใจแก่ผู้ร่วมงาน  สนใจในวิชาความรู้ใหม่ๆ พัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา  มีผลงานดีและก้าวหน้า

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คมคิด ลิขิตคำ

     หลักการทำความดีนั้น  พระพุทธองค์ทรงสอนว่าต้องถูกกาล  เทศะ  บุคคลและทำดีได้ถูกวิธี  คือ  การทำดีเพื่อความดี  มิใช่เพื่อเกียรติ  มิใช่เพื่อโก้  เพื่ออวดหรือเพื่อคะแนน  ใครจะรู้  จะเห็นหรือไม่  ก็ไม่ถือเป็นสาระสำคัญ  หลักกการทำดีเพื่อดีนี้  พระพุทธองค์ตรัสว่า  ธมฺมํ  จเร  สุจริตํ  แปลว่า  จงประพฤติธรรมให้สุจริต  ไม่ย่อท้อหรือเสแสร้งทำ      เมื่อทำความดีแล้วเกิดความสุขใจว่าเราได้ทำความดี  ใครจะชมจะเชียรหรือไม่ก็ไม่หวั่นไหว  มีใจหนักแน่นมั่นคง  ถ้าคิดอย่างนี้ได้  ไม่มีโอกาสบ้าเพราะความฟุ้งซ่าน  เป็นการทำความดีด้วยการใฝ่ดี
     ความมดีเท่านั้นท่ส่งเสริมชีวิตให้เกิดคุณค่า  ดังนั้นเมื่อยังไม่มีดีในตัวเอง  ก็จงสร้างความดีให้เกิดขึ้น  เมื่อเกิดขึ้นแล้วจงหมั่นเพิ่มพูนความดีและพยายามรักาความดีนั้นไว้  สุดท้ายอย่าทำลายความดีจงรักษาความดีให้เหมือนเกลือรักษาความเค็ม
            ที่มา:  ข้อความตอนหนึ่งจากหนังสือน้ำ  เรื่อง  น้ำในดิน  โรงพิมพ์จฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  หน้า ๕๐,กรุงเทพฯ